วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การจางหายของสัญญาณในระบบไมโครเวฟ


ภาพโดย วิเศษ ศักดิ์ศิริ

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แบบจำลองเพื่อปรับค่าการสูญเสียของโทรศัพท์เคลื่อนที่

แบบจำลองเพื่อปรับค่าการสูญเสีย เป็นการสร้างสูตรทางคณิตศาสตร์ตามข้อมูลที่ได้จากสภาพแวดล้อมจริง ใช้กันมากในระบบสื่อสารทั่วไปและการออกแบบระบบสื่อสารเคลื่อนที่ แบบจำลองดังกล่าวจะประกอบด้วยตัวประกอบหลักๆในระบบสื่อสารเคลื่อนที่ ตัวประกอบเหล่านั้นเช่น กำลังส่ง ความถี่ที่นำกลับมาใช้ใหม่เป็นต้น แบบจำลองเพื่อปรับค่าการสูญเสียสร้างขึ้นมาเพื่อระบบที่ดำเนินการในย่านความถี่ที่เรียกว่า ควอซิ-ไมโครเวฟ เพื่อจะให้ได้คำตอบตามที่กล่าวมา บางครั้งอาจจะต้องใช้วิธีทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผลการวัดสัญญาณ การวิเคราะห์ตามที่กล่าวจะให้มาซึ่งแบบจำลองที่มีลักษณะต่างกัน แบบจำลองที่แตกต่างกันตามที่กล่าวมานั้น ปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งคือระดับการคลาดเคลื่อนจากการปรับค่าการสูญเสีย ตัวอย่างเช่นระยะห่างระหว่างเซลในแบบจำลองแต่ละรูปแบบ การวางตำแหน่งของเซลขนาดเล็กแบบต่างๆ ความสูงสายอากาศของสถานีฐานและความถี่ที่แต่ละสถานีฐานใช้ หรือในทำนองเดียวกันก็สามารถปรับค่าประมาณการแบบจำลองเป็นกรณีเฉพาะเพื่อใช้สำหรับระบบเซลโทรศัพท์ขนาดจิ๋วที่ใช้ในตึกสูงต่างๆ ซึ่งได้รวมตัวประกอบที่เกี่ยวข้องกับความกว้างของถนน และปัจจัยอื่นๆ ดังนั้นสำหรับการออกแบบระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำเป็นต้องเลือกหรือสร้างแบบจำลองขึ้นมาอย่างรัดกุม เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าแบบจำลองดังกล่าวสามารถทำนายประสิทธิภาพของระบบได้อย่างแม่นยำ

วิเศษ ศักดิ์ศิริ เขียน

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วงจรเทียบเคียงเชิงเธวินิน


วงจรเทียบเคียงเชิงเธวินินของสายส่งที่ถูกขับด้วยพัลซ์แรงดันและไม่มีภาระต่อปลายสาย

โดย วิเศษ ศักดิ์ศิริ

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Good Bye ๆ TE37


วันอาทิตย์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 นักศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า เลี้ยงลารุ่นพี่ TE 37 ที่หอประชุมประดู่แดง พระจอมเกล้าพระนครเหนือ งานใหญ่นะเนี่ย มีอาจารย์ จรัส ทรัพยาคม อ.ชูชาติ สีเทา อ.ภาณี น้อยยิ่งร่วมงาน ดีจัง

หมาหลับ !!! zzz ZZZ


หมาหลับ 16 กพ 52 1800 น

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ภาพความสัมพันธ์ระหว่างพิกัดเชิงขั้วและพิกัดสี่เหลี่ยม ชุดที่1







ภาพเหล่านี้สร้างสรรค์โดย วิเศษ ศักดิ์ศิริ เขียนไว้นานพอสมควร เผื่อจะสามารถใช้ประโยชน์ได้บ้าง



สายอากาศ



ภาพโดย วิเศษ ศักดิ์ศิริ

ครั้งแรก สำหรับการสื่อสารทางไกล

ย้อนกลับไปในครั้งที่มีการสื่อสารวิทยุ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เกิดขึ้นครั้งแรก[1] ระหว่าง เมืองเซนต์จอห์น รัฐนิวฟาวน์แลนด์ประเทศแคนาดา และ พอล์ดฮิว เมืองคอร์นวอล ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 12 ธันวาคม 1901 และถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้น ของการสื่อสารไร้สายอย่างแท้จริงการทดลอง ดังกล่าว ทำให้บรรดา นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร ขมักขะเม้น เพื่อที่จะหาคำอธิบายเกี่ยวกับคลื่น เพื่อที่จะสามารถทำให้ส่งคลื่นได้รอบโลก[2] ทำให้ปัจจุบันนี้เรามีระบบสื่อสารไร้สายที่ก้าวหน้า สามารถสื่อสารออกไป ยังดาวเทียมที่อยู่นอกโลก สามารถติดต่อกับเรือดำน้ำที่อยู่ใต้มหาสมุทร และมนุษย์ยังมีความพยายามอย่างไม่สิ้นสุด ที่จะติดต่อไปยังห้วงอวกาศ อันไกลโพ้น โดยตั้งเป้าหมายที่จะติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากดาวอื่น เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนศิลปวิทยาการระหว่างกัน เป็นสิ่งที่จะทำให้สามารถรักษา เผ่าพันธ์ของมนุษย์ไว้ได้นานแสนนาน
[1] The Historic Poldhu Wireless Station Cornwall, England, http://www.hamradio.piatt.com/poldhu.htm.
[2] Collin, R.E., “Radio wave propagation-20'th century highlights.” Antennas and Propagation Society International Symposium, 2000. IEEE, Salt Lake City, UT, USA Vol. 3, p. 1633., 2000.

การแก้การจางหายของสัญญาณ ครั้งที่1

ก.) การเพิ่มกำลังเครื่องส่งให้สูงขึ้น
ปัจจัยหลักสำหรับสำหรับการแก้ปัญหาลักษณะนี้คือ กำลังส่งของเครื่องส่ง เช่นหากต้องการแก้การจางหายขนาด 30dB อาจจะต้องเพิ่มกำลังส่งไปอีก 1,000 วัตต์ และเนื่องจากการเพิ่มกำลังส่งนี้เองยังอาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น การรบกวนสถานีใกล้เคียง
ข.) การเพิ่มอัตราการขยายของสายอากาศ
วิธีนี้มีผลในลักษณะเดียวหรือใกล้เคียงกับวิธีแรกการรับส่งสัญญาณจากหลากหลายเส้นทางใช้ประโยชน์จากหลักการ
ค.)การรับส่งสัญญาณจากหลากหลายเส้นทาง
ใช้หลักการที่ว่าการจางหายของสัญญาณระหว่างสองจุดเดียวกัน จะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันหากมีเส้นทางการสื่อสารระหว่างสองจุดนั้นมากกว่าสองเส้นทาง การออกแบบระบบ จะทำให้สัญญาณจากเครื่องส่งหนึ่งคลื่นตรงไปเข้าสายอากาศของเครื่องรับสองอัน เครื่องรับจะเลือกสัญญาณที่มีคุณภาพดีกว่าไว้เพียงสัญญาณเดียว ข้อดีเมื่อเลือกวิธีแก้ไขปัญญหาแบบนี้คือ ประหยัดความถี่ไมโครเวฟที่ใช้งานเพราะใช้ความถี่ส่งออกอากาศเพียงความถี่เดียว

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552