วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
อยากเป็นครูทำไงครับ
ผมขึ้นจั่วหัวว่าอยากเป็นครูทำไงหว่าเพราะหากเราลองพิจารณาอาชีพอื่นเป็นตัวอย่างเช่นอยากเป็นหมอก็สอบเข้าเรียนหมอให้ได้สิแล้วจะได้เป็นหมอ หรืออยากเป็นตำรวจทหาร พยาบาล อาชีพเหล่านี้มีเส้นทางที่ชัดเจน แต่สำหรับอาชีพครูแล้วไม่ชัดเจนเอาเสียเลย ทำอย่างไรถึงได้เป็นครู ต้องเรียนให้เก่ง จบ ป.ตรีแล้วมาสมัครเป็นครูเหรอยากมากครับ ทำแบบนี้จะมีคนเก่งจริงๆไม่กี่คนที่อยากเป็นครูมาสมัคร เพราะเมื่อคนที่เรียนเก่งในระดับ ป.ตรีจบออกมาก็ไม่เหลือหรอกครับ ทุกคนต่างแย่งกันไปก่อน เขาไม่ต้องมาสมัครเป็นครูให้เสียเวลา ที่เหลือก็ประเภทมาสอบเผื่อได้ แล้วครูจะดีได้อย่างไร เรื่องรายได้เป็นเรื่องรองครับรัฐบาลก็ดูแลครูเป็นอย่างดีเพราะครูเป็นข้าราชการไม่กี่ประเภทที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถรับเงินเดือนในระดับเทียบเท่าปลัดกระทรวงโดยไม่จำเป็นต้องผ่านตำแหน่งผู้บริหาร
ผมได้อ่านบทความของนักคิดหลายๆท่านเกี่ยวกับครูพันธ์ใหม่ หลักการของครูพันธ์ใหม่คือประกันอาชีพ ไม่ต้องห่วงหรอกครับหากมีงานทำแถมทุนการศึกษามีเด็กดีเด็กเก่งมาสมัครอย่างแน่นอน การปฎิรูประบบการผลิตครูต้องเป็นทำนองเดียวกับการผลิตแพทย์ตำรวจ ทหาร ซิครับขนาดนายสิบ หรือพยาบาลที่งานหนักหนาสาหัสแถมมีอัตราเสี่ยงมากกว่าครูยังเป็นสาขาที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
สรุปได้ว่าหากสามารถทำให้เขารู้เส้นทางที่ชัดเจนว่าจะเป็นครูหรือประกอบอาชีพครูต้องทำอย่างไร ความวุ่นวายและปัญหาที่คนเก่งไม่เรียนครูจะลดลงไปอย่างมาก ทุกวันนี้ใครอยากเป็นครูต้องอึดไปเป็นครูอัตราจ้างอย่างน้อยๆก็ห้าปีแล้วจะหาทางที่จะดันเข้าสู่ระบบแบบนี้ทำให้เกิดปัญหาสะสมหมักหมมค้างในระบบมากมาย เด็กเก่งเขาไม่มารอเข้าคิวหรอกครับ สิ่งที่ผมพรรณานี้เข้าใจว่าผู้บริหารการศึกษาของประเทศเข้าใจ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าเข้าใจแล้วทำไมเวลาจะแก้ถึงได้ยากเย็นเสียเหลือเกิน ผมเคยเช้าซี้ถามบรรดาผู้บริหารทั้งหลายก็ได้คำตอบว่า อาจารย์ลองมาเป็นผู้บริหารซิแล้วจะเข้าใจ (ดูเหมือนเขาจะให้เข้าใจว่าแนวความคิดที่ได้เสนอเป็นสิ่งดีเป็นอุดมคติแต่ทำไม่ได้ )
หรือไม่ยอมทำหว่า
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
เก็บผล
โชคดี
วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
บอกเล่าเก้าสิบ
การสัมนาภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้าที่ จ. เพชรบูรณ์มีภาพแห่งความสำเร็จแม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่ได้เสนอแนวความคิดอะไรอย่างเป็นทางการต่อที่ประชุม ภาพที่เห็นแม้ว่าจะมีอาจารย์ระดมความคิดกันมากมาย แต่ก็ยังมีข้อสงสัยถึงกับดักของการสัมนา เพราะโดยปกติแล้วคำกล่าวที่ว่า ชนชั้นใดออกกฎหมายย่อมรับใช้ชนชั้นนั้น ยังคงเป็นจริงยังเป็นสัจจะอยู่เสมอแม้เวลาผ่านมาแสนนานตั้งแต่เริ่มมีอารยธรรมมนุษย์ ที่ประชุมดูเหมือนจะสรุปว่าจะสร้างหลักสูตร คอบ.+วศบ. อะไรเทือกนี้หรือทำนองนี้ แหม! เราจะแก้ปัญหาอะไรกันหนอ ยังมีการเสนอแนวความคิดที่ดีอีกอย่างคือการเปิดกว้างทางการศึกษา โดยคิดว่าคุณภาพของนักศึกษาสายวิชาชีพไม่เป็นตามต้องการ จึงเป็นที่มาของการเสนอให้มีการรับนักเรียนชั้น ม.6 ด้วย เรื่องนี้พูดกันมานาน ตั้งแต่ข้าพเจ้าเริ่มทำงานที่นี่ก็ได้ยินเรื่องทำนองนี้แล้ว เอาละกลับมาเรื่องหลักสูตรที่ได้กล่าวถึงตอนต้น หากพิจารณาการผลิตบัณฑิตเป็นระบบก็จะพบว่าจะประกอบด้วยส่วนหลักๆอยู่สามส่วนด้วยกันนั่นคือ 1.อินพุตได้แก่ นักเรียนที่รับเข้ามาในระดับเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ 2.ระบบการผลิต ในที่นี้ชี้ชัดมายังภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้าโดยตรง ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้าเป็นภาควิชาที่ประกอบด้วยทรัพยากรชั้นดีและมีค่าในทุกๆด้าน และ 3.ผลผลิตซึ่งเป็นการบูรณาการเข้าด้วยกันระหว่าง 1 และ 2 เริ่มมองเห็นภาพแล้วซินะครับ ที่ผ่านมามีข้อสังเกตุว่าระบบของเราดีขนาดนี้แล้วทำไม่ไม่เป็นที่นิยม เราก็เลยอาศัยการเปิดโอกาสทางการศึกษาโดยรับนักเรียนนักศึกษาสายสามัญร่วมกับสายวิชาชีพเห็นว่าน่าจะดี จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างสิ้นเชิง การใช้แนวความคิดแบบนี้เป็นการละเลยหรือปฏิเสธความเป็นจริงทางสังคมอย่างสิ้นเชิง ความจริงที่ว่านั้นคือ เราอยู่บนโลกหรือในโลกที่มีทรัพยากรจำกัดไม่มีใครสามารถทำให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันเหมือนคนอื่นได้อย่างแท้จริง ซึ่งตอนนี้เราคิดว่าเรากำลังจะทำ เมื่อทรัพยากรมีจำกัดนั่นแสดงว่าการพยายามเลือกทรัพยากรที่ดีต้องใช้ต้นทุนมหาศาลและมโหฬาร เหมือนกับที่ภาควิชากำลังทำอยู่หรือไม่ ดังนั้นแล้วระบบที่ดีต้องใส่ใจกระบวนการต้องสามารถรับรองให้ได้ว่ากระบวนการนั้นดีจริงโดยการการันตีเอาต์พุต อนาคตมนุษย์จะเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารมีการแย่งชิงทรัพยากรมากขึ้น ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดทั้งอาหาร พลังงาน คนอายุยาวนานขึ้น หลักสูตรที่เกิดขึ้นต้องสามารถทำให้บัณฑิตออกไปเลี้ยงชีพได้การประกันอาชีพเป็นเพียงขั้นอนุบาลของการการันตีเอาต์พุตยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพแต่เหนือกว่านั้นต้องทำให้เขาสามารถไปหาแหล่งทรัพยากรใหม่ได้ หลักสูตรที่ดีต้องสอนให้คนเก่งในเรื่องไอทีเพราะพลังงานมีจำกัดเก่งในเรื่องภาษาเพราะสามารถทำให้เขาสามารถหาแหล่งทรัพยากรใหม่ๆได้ เก่งในเรื่องเทคโนโลยีที่จะออกแบบและสร้างเครื่องอำนวยความสะดวกแก่ บุคคลที่สภาพร่างกายไม่อำนวย นี่เป็นทางแห่งอารยะเพื่อสร้างอารยะหลักสูตร