วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ยุคสารกึ่งตัวนำ

สารกึ่งตัวนำถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้ค้นพบและมีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมากเพราะสามารถใช้นำมาผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้แทนที่หลอดสุญญากาศได้สำเร็จ สารดังกล่าวถูกค้นพบในปี1925 ที่ห้องวิจัยเทคโนโลยีสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทเบลล์ ซึ่งในห้องทดลองดังกล่าวประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ในแขนงต่างๆจากทั่วโลก เพื่อทำงานวิจัยด้าน อิเล็กทรอนิกส์ เคมี ฟิสิกส์ และเทคโนโลยี การสื่อสารและงานวิจัยด้านอื่นๆ คณะผู้วิจัยค้นพบสารกึ่งตัวนำจากการสังเกตุเห็นปรากฎการณ์ที่ประหลาดจากคุณสมบัติของการนำไฟฟ้าสสาร ซึ่งมีคุณสมบัติการนำไฟฟ้าไม่คงที่ อยู่ระหว่างฉนวนและตัวนำ คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อนำมาใช้งาน กระทั่งต่อมาในปีในปี 1930 กลุ่มนักวิจัยของห้องปฏิบัติการเบลล์ ซึ่งได้วิจัยเรื่องการส่งคลื่น ยู-เอช-เอฟ เพื่อการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ การติดต่อสื่อสารดังกล่าว ต้องการตัวกำเนิดสัญญาณที่มีความเสถียรถูกต้องแน่นอน ผลคือการใช้หลอดอิเล็กตรอนไม่สามารถตอบสนองต่อคลื่นหรือสัญญาณที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ จึงได้มีการหาวิธีการใหม่ๆในการสร้างสัญญาณมีเสถียรภาพ และได้สร้างการทดลองที่ปฎิวัติกฎเกณฑ์เก่า โดยใช้ตัวตรวจจับมีลักษณะเป็นตัวนำเส้นเล็กๆเรียกกันว่าหนวดแมว ฝังลงบนฐานผลึกคริสตัล วิธีการนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ความพยายาม ในการหาอุปกรณ์สร้างสัญญาณที่มีความถี่สูงและเสถียรเป็นผลสำเร็จ และยังเป็นแนวทางที่นำไปสู่การค้นพบสารกึ่งตัวนำชนิดใหม่นั่นคือสารกึ่งตัวนำชนิดซิลิกอน ในปี 1945 หัวหน้าคณะวิจัยของห้องทดลองเบลล์ ได้กำหนดให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านสารกึ่งตัวนำทำการวิจัยเพื่อค้นหาอุปกรณ์เพื่อทำหน้าที่ขยายสัญญาณชนิดใหม่แทนที่หลอดสุญญากาศ ดังนั้นทีมนักวิจัยของห้องปฏิบัติการเบลล์ จึงมุ่งมั่นทำการคันคว้าหาอุปกรณ์ตัวใหม่นี้จนกระทั่งได้สังเกตุเห็นหลอดสูญญากาศของเฟลมมิ่ง(John Ambrose Fleming)[1] ซึ่งมีขั้วไฟฟ้าออกมา 3 ขั้ว เขาจึงได้เลียนแบบขั้วไฟฟ้าหลอดสูญญากาศ โดยนำขั้วไฟฟ้า 3 ขั้ว ฝังลงบนสารกึ่งตัวนำ คือซิลิกอน และพบว่าสามารถที่จะควบคุมการไหลของกระแสที่ไหลผ่านซิลิกอนได้ อีกทั้งยังสามารถที่จะขยายสัญญาณได้เช่นเดียวกับหลอดสุญญากาศและมีข้อดีที่ใช้พลังงานที่น้อยกว่า หลังจากนั้นมาซิลิกอน จึงเป็นสารตั้งต้นของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มีบทบาทสำคัญสำหรับวงการอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาในปี1947 นักวิทยาศาสตร์ได้นำทรานซิสเตอร์มาใช้ ทรานซิสเตอร์ดังกล่าวเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ แทนที่หลอดคาโถดแบบสุญญากาศ บริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนท์ และแฟร์ไชลด์เซมิคอนดักเตอร์ เป็นสองรายแรกที่ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างแผ่นวงจรรวม ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ และตัวต้านทาน ลงบนแผงซิลิกอนเมื่อปี1959 ปัจุบันได้พัฒนาให้สามารถติดลงบนแผงวงจรขนาดใหญ่ ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง และสามารถถอดเปลี่ยนได้ง่ายกรณีมีปัญหาเกิดขึ้น
[1] Fleming, Sir John Ambrose, 1849–1945, English electrical engineer. He was a leader in the development of electric lighting, the telephone, and wireless telegraphy in England and the inventor of a thermionic valve (the first electron tube). Fleming was a professor at the Univ. of London and at University College and was knighted in 1929. Among his many publications are Fifty Years of Electricity (1921) and The Propagation of Electric Currents in Telephone and Telegraph Conductors (1911).

วิเศษ เขียน

การจัดการโทรคมนาคม

ที่ผ่านมาเราได้ทราบเกี่ยวกับคำจำกัดความของการจัดการ หรือการบริหาร ตลอดถึงลักษณะการจัดแบ่งแถบความถี่ออกเป็นย่านต่างๆ และได้ขยายความไปถึงการประยุกต์ใช้งานของมนุษย์ ซึ่งทำให้ทราบว่าคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ และมีมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ ความพิเศษของคลื่นความถี่นั้นคือ คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรงจากประสาทสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์ แต่มนุษย์สามารถรับรู้ถึงปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นจากคลื่นความถี่และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการใช้งานคลื่นความถี่ของมนุษย์นี้เอง พบว่าคลื่นความถี่ที่มนุษย์รู้จักและสามารถประยุกต์ใช้งานได้มีมากกว่า สามแสนล้านคลื่นความถี่ แต่กว่าร้อยละเก้าสิบ ของการประยุกต์ใช้งานคลื่นความถี่ของมนุษย์อยู่ที่ระดับต่ำกว่า สามกิกะเฮิร์ต และหนาแน่นเป็นพิเศษ ในช่วงความถี่ไมโครเวฟ ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานคลื่นความถี่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการใช้งานคลื่นความถี่ ซึ่งการจัดการคลื่นความถี่เป็นทั้งงานที่มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายระดับสากล ที่กำหนดขึ้นโดยหน่วยงานกลางที่มีความชำนัญการเป็นพิเศษ เช่นสหภาพโทรคมนาคมสากล(ITU) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) คณะกรรมาธิการการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา(FCC) สำหรับหน่วยงานสุดท้ายนี้ดูจะพิเศษกว่าหน่วยงานอื่นเนื่องจากเป็นหน่วยงาน ที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับแห่งสหรัฐอเมริกา แต่มีบทบาทในระดับสากล ก็เพราะสหรัฐอเมริกามีสถานะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเทคโนโลยี เป็นประเทศที่มีการสร้างสรรนวัตกรรมใหม่จำนวนมาก ดังนั้นการเคลื่อนไหวทางนดยบายของสหรัฐอเมริกา จึงส่งผลกระทบสำคัญต่อกระบวนการต่างๆของประชาคมดลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นในคราวที่ประธานาธิบดีบิลคลินตันประกาศความถี่สามจี(3G) เป็นประเทศแรกของโลกเป็นผลให้ในที่สุดหน่วยงานสากลต่างๆก็ได้กำหนดให้ใช้ความถี่สามจีเป็นความถี่เดียวกับที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ประกาศ และการจัดการโทรคมนาคมยังเป็นงานในระดับชาติที่แต่ละประเทศกำหนดให้เกิดสภาพบังคับของการใช้งาน และผู้รับผิดชอบหรือผู้ได้รับสัมปทาน ซึ่งในระดับชาติซึ่งขึ้นอยู่กับผู้กำกับควบคุมในแต่ละประเทศนั้น ส่วนการกำหนดว่าความถี่ไดจะใช้งานจะสอดคล้องกับหน่วยงานระดับสากล

วิเศษ:เขียน

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การจัดการ

การจัดการเป็นคำที่มีขอบข่ายกว้างขวาง เกี่ยวเนื่องกับทุกกิจการ เราจะมาพิจารณาความหมายของคำว่าการจัดการ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Management[1] กัน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานท่านให้ความหมายของคำ “จัดการ” ว่า “สั่งงาน, ควบคุมงาน, ดำเนินงาน” [i] เมื่อผนวกเข้ากับคำว่าการซึ่งแปลว่างาน การจัดการจึงหมายถึง งานหรือเรื่องที่ต้องควบคุม แต่หากเราจะพิจารณาจากพจนุกรมฉบับบเดียวกันนี้ในคำว่า “ผู้จัดการ” ซึ่งท่านให้ความหมายว่า “บุคคลที่มีหน้าที่บริหารและควบคุมกิจการ” การจัดการจึงน่าที่จะมีความหมายว่างานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและควบคุมกิจการ
ตามความหมายที่ได้จากพจนานุกรมข้างต้นจะพบว่า ความหมายของคำว่าการจัดการเน้นหนักไปที่การควบคุม ซึ่งการควบคุมนี้จะหมายถึงกระบวนการต่างๆที่จะนำมาซึ่งผลที่พึงได้และพึงประสงค์ตรงตามความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของงานและกิจการที่ต้องเข้าไปจัดการ
เราจะพิจารณาความหมายของคำดังกล่าว จากนักคิดนักวิชาการท่านอื่นกันบ้าง ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งและเคยดำรงตำแหน่งสำคัญเช่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประธานคณะกรรมการบริษัททีโอทีจำกัดมหาชน และ ประธานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ได้ให้ความหมายของคำว่า Management ซึ่งธีรวุฒิได้ใช้คำแปลว่าการบริหารหรือการจัดการ และให้ความหมายของการบริหารหรือการจัดการ[ii] ว่า “กระบวนการอย่างหนึ่งภายในองค์การซึ่งมีลำดับการทำงานเป็นขั้นตอน มีกลุ่มบุคคลเป็นกลไกหลักสำคัญในการบริหารงาน มีเงินทุนเครื่องจักรและวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆเป็นองค์ประกอบด้วย”
ความหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซึ่งธีรวุฒิได้กล่าวไว้นั้น ให้ความสำคัญกับกระบวนการที่มีแบบแผนชัดเจน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป้นแบบแผน ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้
สมพงษ์ เกษมสิน ศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ให้ความหมายว่า การจัดการ[iii] หมายถึง “การจัดหรือดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้”
ในส่วนของสมพงษ์ที่ได้กล่าวไว้นั้น ให้ความสนใจกับนโยบายซึ่งจะพบว่าเป็นลักษณะพิเศษ ของการบริหารที่มักจะนำไปใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองเสียมากกว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภาคประชาชน
คราวนี้ถ้าเราจะพิจารณาแนวความคิดหรือความหมายของการจัดการจากนักคิดทางฟากยุโรปและอเมริกากันบ้าง
พจนานุกรม(Dictionary) ของเว็บส์เตอร์ให้ความหมายของคำ การจัดการ (Management) ว่า กฎหรือศิลปในการบริหาร หรืออีกความหมายหนึ่งคือการควบคุม [iv]
พจนานุกรมของคอลลินโคบิลด์ให้ความหมายของคำว่า การจัดการ (Management) ว่า การควบคุมและการจัดองค์กรทางธุรกิจ [v]
พจนานุกรมทั้งสองเล่มยังคงให้ความสำคัญของการจัดการ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเป็นหลัก ซึ่งก็คล้ายคลึงและมีความหมายไปในทำนองเดียวกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ปรมาจาร์ยทางด้านการบริหารจัดการคนหนึ่งของโลก ได้ให้ความหมายของคำว่าการจัดการดังต่อไปนี้ [vi]
“Management is about human beings. Its task to make people capable of joint performance, to make their strengths effective and their weaknesses irrelevant.”

แปลได้ว่า การจัดการเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มนุษย์กระทำ เพื่อที่จะทำให้คนสามารถปฏิบัติ ได้อย่างเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดจุดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับงานที่กระทำ
ดรักเกอร์ ได้ให้ความหมายที่ลงลึกไปในรายละเอียด ถึงกระบวนการที่จะใช้จูงใจหรือบังคับให้เกิดประสิทธิภาพในตัวมนุษย์ เพื่อที่จะบรรลุผลของงานที่ทำตามที่ตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ไว้
จากความหมายข้างต้นไม่ว่าจากพจนานุกรม เราอาจจะพอที่จะสรุปได้ว่าทุกการจัดการจะมีการควบคุม การควบคุมจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการจัดการ ผู้จัดการจะหมายถึงผู้ที่ดำเนินการด้วยกลวิธีต่างๆ เพื่อที่จะให้งานนั้นบรรลุผลตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
[1] ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานสาขาวิชารัฐศาสตร์ได้ให้ความหมายว่า การจัดการ, การบริหาร, ฝ่ายจัดการ
[i] พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542
[ii] ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และ วรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์., “พื้นฐานบริหารงานอุตสาหกรรม” ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พิมพ์ครั้งที่4, 2540, หน้า12.
[iii] สมพงษ์ เกษมสิน., “การบริหาร.” แก้ไขปรับปรุงครั้งที่6. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช. 2521. หน้า 5.
[iv] Webster
[v] Collin
[vi] P. F. Drucker., “The Essential Drucker” Harperbussiness., 2001, p-10

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552