วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การจัดการโทรคมนาคม

ที่ผ่านมาเราได้ทราบเกี่ยวกับคำจำกัดความของการจัดการ หรือการบริหาร ตลอดถึงลักษณะการจัดแบ่งแถบความถี่ออกเป็นย่านต่างๆ และได้ขยายความไปถึงการประยุกต์ใช้งานของมนุษย์ ซึ่งทำให้ทราบว่าคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ และมีมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ ความพิเศษของคลื่นความถี่นั้นคือ คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรงจากประสาทสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์ แต่มนุษย์สามารถรับรู้ถึงปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นจากคลื่นความถี่และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการใช้งานคลื่นความถี่ของมนุษย์นี้เอง พบว่าคลื่นความถี่ที่มนุษย์รู้จักและสามารถประยุกต์ใช้งานได้มีมากกว่า สามแสนล้านคลื่นความถี่ แต่กว่าร้อยละเก้าสิบ ของการประยุกต์ใช้งานคลื่นความถี่ของมนุษย์อยู่ที่ระดับต่ำกว่า สามกิกะเฮิร์ต และหนาแน่นเป็นพิเศษ ในช่วงความถี่ไมโครเวฟ ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานคลื่นความถี่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการใช้งานคลื่นความถี่ ซึ่งการจัดการคลื่นความถี่เป็นทั้งงานที่มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายระดับสากล ที่กำหนดขึ้นโดยหน่วยงานกลางที่มีความชำนัญการเป็นพิเศษ เช่นสหภาพโทรคมนาคมสากล(ITU) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) คณะกรรมาธิการการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา(FCC) สำหรับหน่วยงานสุดท้ายนี้ดูจะพิเศษกว่าหน่วยงานอื่นเนื่องจากเป็นหน่วยงาน ที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับแห่งสหรัฐอเมริกา แต่มีบทบาทในระดับสากล ก็เพราะสหรัฐอเมริกามีสถานะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเทคโนโลยี เป็นประเทศที่มีการสร้างสรรนวัตกรรมใหม่จำนวนมาก ดังนั้นการเคลื่อนไหวทางนดยบายของสหรัฐอเมริกา จึงส่งผลกระทบสำคัญต่อกระบวนการต่างๆของประชาคมดลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นในคราวที่ประธานาธิบดีบิลคลินตันประกาศความถี่สามจี(3G) เป็นประเทศแรกของโลกเป็นผลให้ในที่สุดหน่วยงานสากลต่างๆก็ได้กำหนดให้ใช้ความถี่สามจีเป็นความถี่เดียวกับที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ประกาศ และการจัดการโทรคมนาคมยังเป็นงานในระดับชาติที่แต่ละประเทศกำหนดให้เกิดสภาพบังคับของการใช้งาน และผู้รับผิดชอบหรือผู้ได้รับสัมปทาน ซึ่งในระดับชาติซึ่งขึ้นอยู่กับผู้กำกับควบคุมในแต่ละประเทศนั้น ส่วนการกำหนดว่าความถี่ไดจะใช้งานจะสอดคล้องกับหน่วยงานระดับสากล

วิเศษ:เขียน

ไม่มีความคิดเห็น: