วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552
รอ dinner
TE ที่รัก
ได้แก้ว
วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552
เตาไมโครเวฟ
การให้ความร้อนอาหารโดยไมเตาไมโครเวฟ คือการทำให้โมเลกุลของอาหารเคลื่อนไหวเสียดสีกัน กระทั่งเกิดความร้อน แล้วทำอย่างไรถึงรู้ว่าโมเลกุลสั่น ผู้เขียนได้ทำการทดลองโดยนำน้ำร้อนสองแก้วตามในรูปแก้วซ้ายมือให้ความร้อนด้วยเตาไมโครเวฟ ความร้อนสูงสุด 1.30 นาที แก้วขวามือใช้วิธีต้มจนเดือด แล้วใส่กาแฟ 1 ช้อนชาทั้งสองแก้ว โดยไม่ต้องใช้ช้อนคน ผลปรากฏว่า แก้วที่ให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟเกิดฟองฟู่ขึ้นในทันที แต่แก้วน้ำร้อนที่เกิดจากการต้มไม่เกิดฟอง เลย ก็ลองสรุปต่อกันนะครับ
วิเศษ ศักดิ์ศิริ เขียน
วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552
ประดู่แดง
ประดู่แดง (ชื่อวิทยาศาสตร์ :Phyllocarpus septentrionalis Donn. Smith)
ประดู่แดงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นต้นไม้ของหลายหน่วยงานด้วยกัน เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประดู่แดงในภาพต้นนี้ปลูกอยู่หน้าคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กำลังออกดอกแดงอร่ามไปทั้งต้น ภาพนี้ถ่ายไว้เมื่อวันอังคารที่ 14 มกราคม 2552 ผู้ปลูกยังไม่แน่ชัด เนื่องจาก อ.มณฑา ผุดฉวี อ.ประจำภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล เล่าให้ฟังว่าปลูกเมื่อปี 2518 โดยคุณหญิงเต็มศิริ อาจารย์ มณฑา เล่าต่อว่าจำนามสกุลท่านไม่ได้ แต่จำได้ว่าเป็น รมว. ทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น ซึ่งหากกลับไปค้นประวัต ครม. ดูแล้วจะพบว่า รมว. ทบวงฯ สมัยใกล้เคียงน่าจะเป็น ปี 2519 เป็น ฯพณฯวิมลศิริ ชำนาญเวช อ.มณฑา ท่านได้บอกต่อว่าช่วงนั้น พระจอมกล้ายังไม่ได้แยก คณะครุศาสตร์มี ดร.ชนะ กสิภาร์ เป็นคณบดี รศ.บรรเลง เป็นหัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล ผศ.ไพศาล หุ่นแก้ว เป็นหัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า เอาละ ค่อยว่ากันต่อว่าประวัติประดู่่แดงต้นนี้เป็นอย่างไร
วิเศษ ศักดิ์ศิริ เขียน
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552
ระดมความคิด
การระดมความคิด
การตัดสินใจเพื่อการบริหารต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน แล้วจะทำอย่างไรถึงจะให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ก็อาจจะต้อง ใช้การระดมความคิดกัน โดยปกติแล้วก่อนจะระดมความคิดนั้นจำเป็นที่ทุกคนจะต้องมอง หรือตั้งเป้าหมายให้เป็นเป้าหมายเดียวกันเสียก่อน การทำเช่นนั้นอาจจะเริ่มโดยการรับฟังความเห็นจากผู้มี่ความเชี่ยวชาญ จากผู้เกี่ยวข้อง และจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดทำการวิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยงาน แล้วสรุปเป็นเป้าหมายหรือแนวการดำเนินการของกลุ่มก่อนที่จะดำเนินการอื่นต่อไป
วิเศษ ศักดิืศิริ (เขียน)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)