วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ทรัพยากรสารสนเทศ

อาจจะกล่าวได้ว่าบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นบทบาทที่มีนัยสำคัญต่อการบริหารและการจัดการ เป็นบทบาทสำหรับที่ช่วยแก้ปัญหางานที่ซ้ำซาก งานในลักษณะที่ทำกันบ่อยเป็นปกติ กระบวนการไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง อาจจะเรียกว่าซ้ำซากก็เป็นไปได้ กระบวนการทั้งหมดได้อยู่ในแผนการคิดและวิเคราะห์ จนได้รับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจได้แก่การเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติ การเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบอัตโนมัตินี้เองคือองค์ประกอบหลักและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้ ทุน หรือต้นทุนลดต่ำลง เมื่อทุนหรือต้นทุนดังกล่าวลดต่ำลง ผลที่ตามมาย่อมทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น เป้นฟังก์ชันเชิงเส้นที่มีการแปรตามกันแบบนี้เสมอ ประสิทธิภาพตามที่กล่าวนี้หมายรวมไปถึงความรวดเร็ว ไม่ว่าอย่างไรก็ตามสิ่งที่ได้แนะนำไปในตอนต้นคือบทบาทที่อยู่ในสภาพเริ่มต้นหรือสภาพเดิมๆของระบบ ระบบดังกล่าวเรียกว่าเป็นระบบอัตโนมัติ เป็นระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้คุณภาพของงานดีขึ้นยิ่งกว่า มีต้นทุนที่ต่ำลง ใช้เวลาน้อยลง อีกทั้งช่วยลดขนาดขององค์กร ตัวอย่างเช่น BMW และ Microsoft ได้วางแผนและกำหนดให้มียุทธศาสตร์ด้านการจัดการเพื่อเป็นผู้นำทั้งสินค้า และเทคโนโลยี ซึ่งมีระบบเทคโนดลยีสารสนเทศเป็นองค์ประกอบหลัก สิ่งที่นั้นเป็นการชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างกันของระบบอัตโนมัติแบบเดิมๆ และระบบอัตโนมัติที่พัฒนามาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อแตกต่างที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะกล่าวคือ การยอมรับและการหวังผลที่จะเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ร่วมงาน สมาชิกที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรายละเอียดของการวัดผลที่แม่นยำซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละกลุ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศในแต่ละประเภทของงาน ความแตกต่างดังกล่าวจะสามารถชี้แจงในรูปแบบของรายละเอียดเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลดังกล่าวจะเก็บไว้อย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้สามารถรื้อฟื้นกลับ หรือเพื่อใช้วิเคราะห์ เป็นตัวอย่าง กรณีศึกษา หรือเป็นประสบการณ์ มาใช้วางแผนส่งผลต่อต้นทุนหรือกำไร คุณภาพและบริการของสินค้า ซึ่งสิ่งนั้นจะเป็นดั่งขุมทรัพย์ขององค์กร โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวสนับสนุน

วิเศษ ศักดิ์ศิริ เขียน

ไม่มีความคิดเห็น: