วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สมบัติทางไฟฟ้าของวัตถุ (ตอนที่1)

ตัวประกอบที่สำคัญเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับพฤติกรรมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคือ วัตถุหรือตัวกลางที่คลื่นตกกระทบ เฉพาะในเรื่องราวของคลื่นด้วยแล้ว เราอาจจะพบเจอกับลักษณะพิเศษของวัตถุที่จะอธิบายด้วยศัพท์เฉพาะบ่อยครั้งเช่น สภาพยอม(permittivity) ความซึมซาบ(peremeability) ความนำ(conductivity) เป็นต้น ศัพท์เฉพาะดังกล่าวเป็นลักษณะพิเศษทางไฟฟ้าของวัตถุในแต่ละกลุ่ม ซึ่งปกติแล้วเราจะเรียกกันแยกวัตถุเป็นสามกลุ่มด้วยกัน ได้แก่กลุ่มที่เป็นฉนวน กลุ่มที่เป็นสารประกอบแม่เหล็ก และกลุ่มที่เป็นตัวนำ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อตกกระทบกับวัตถุต่างชนิดกันจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันด้วย เนื่องจากความแตกต่างกันของโครงสร้างของวัตถุและธาตุ ในระดับอะตอม ซึ่งเป็นอานุภาคขนาดเล็กมาก อะตอม แม้จะมีขนาดเล็กมากแต่อะตอมก็มีรูปแบบโครงสร้างที่แตกต่างกันไป ประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า นิวเคลียสและล้อมรอบด้วยประจุลบที่เรียกว่าอิเล็กตรอน นิวเคลียสนั้นจะประกอบด้วยส่วนประกอบย่อยๆ คือนิวตรอนซึ่งในทางไฟฟ้าจะมีสมบัติเป็นกลาง และ โปรตอนซึ่งในทางไฟฟ้าจะมีสมบัติเป็นบวก วัตถุทุกชนิดจะประกอบขึ้นมาจากธาตุที่แตกต่างกันกว่า 102 ธาตุ ในจำนวนนี้มีเพียง 92 ที่เป็นธาตุที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ[1]
[1] C. A. Balais., “Advanced Engineering Electromagnetics.” John Wiley & Sons, p-42, 1989.

วิเศษ ศักดิืศิริ เขียน

ไม่มีความคิดเห็น: