วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551

แถบความถี่ไมโครเวฟ

หากจะกล่าวถึงแถบความถี่ในช่วงไมโครเวฟแล้ว โดยทั่วไปในเชิงกายภาพคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 1 เซนติเมตร – 1 เมตร หรืออยู่ในช่วงความถี่ 300 เมกะเฮิร์ต – 30 กิกะเฮิร์ต ซึ่งก็คือแถบความถี่ที่อยู่ในช่วงความถี่ ยูเอชเอฟ. และ เอสเอชเอฟ. ความถี่ในช่วงไมโครเวฟนี้เป็นช่วงความถี่ที่นับได้ว่าเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์สูง ใช้การกระจายคลื่นออกอากาศเพื่อส่งข้อมูลข่าวสารของสถานีโทรทัศน์ การใช้งานสำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล หรือองค์การเช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบต่างๆ การใช้งานในงานสื่อสารผ่านดาวเทียม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ตัวอย่างที่สำคัญนั้นได้แก่ การใช้ดาวเทียมโดยนำมาใช้เพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นได้แก่ ป่าไม้ แร่ธาตุ การป้องกันสาธารณภัย ตัวอย่างได้แก่การใช้ในงานอุตุนิยมวิทยา การใช้ดาวเทียมในการสำรวจรังวัดที่ดิน หรือระบบนำร่อง จีพีเอส.(Global Positioning System, GPS.) การใช้งานเพื่อประโยชน์ต่างๆ มีมากจนทำให้ในช่วงความถี่ไมโครเวฟนี้ ต้องกำหนดแถบหรือช่วงการใช้งานของความถี่เพิ่มเติม ให้เหมาะสมกับลักษณะสมบัติทางเทคนิคและพฤติกรรมการใช้งาน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงข้อกำหนดดังกล่าว และเข้าใจถึงลักษณะการใช้งานในแต่ละแถบความถี่ การกำหนดและเลือกใช้แถบความถี่ไมโครเวฟให้เหมาะกับงานแต่ละชนิด ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วข้างต้น นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจึงได้แบ่งและกำหนดชื่อย่อยเป็นแถบเล็กๆ ย่อยลงไป แถบความถี่ไมโครเวฟ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นย่านความถี่(Band) ซึ่งได้ทำการกำหนดแบ่งย่านความถี่นี้แรกเริ่มได้ทำการแบ่งเป็นทั้งหมด 7ย่านด้วยกัน โดยเริ่มจากความถี่ต่ำ(1 – 2GHz) ไปยังความถี่สูง(20 – 40GHz) เพื่อให้มองเห็นภาพและเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ย่านความถี่ข้างต้นแสดงไว้ในตารางที่1.2 ในคอลัมน์แรกจะบอกถึงช่วงความถี่ในแต่ละค่า และส่วนคอลัมน์ตำแหน่งตรงกลางแสดงให้เห็นถึงชื่อที่กำหนดในแบบเดิม ของแต่ละช่วงความถี่ คอลัมน์สุดท้ายจะเป็นชื่อใหม่ที่กำหนดขึ้นมา

วิเศษ ศักดิ์ศิริ เขียน

ไม่มีความคิดเห็น: